กลับหน้าหลัก  ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  พระธาตุนาดูนทองคำ  นักวิจัยดีเด่น  บุคลากร  ศิษย์เก่า  นักเรียน/นิสิต  ผู้มีอุปการะคุณ  ผลงานโดดเด่น   ค้นหา 
 
  ชื่อผลงาน/ทุน :
        รางวัลชนะเลิศการประกวดโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์
  ประเภท :
         นักเรียน/นิสิต
  หน่วยงาน :
        คณะเทคโนโลยี / คณะการบัญชีและการจัดการ / คณะวิทยาการสารสนเทศ
 
(- กลุ่มนิสิต -)
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อ - นามสกุล รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Grower Sweet กับผลงานผลิตภัณฑ์ O-Lift จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัล 30,000 บาท
คณะ/หน่วยงาน/แหล่งทุน คณะเทคโนโลยี / คณะการบัญชีและการจัดการ / คณะวิทยาการสารสนเทศ
รายละเอียดข่าว (4936)

หัวข้อข่าว : อธิการบดี มมส ร่วมแสดงความยินดีกับนิสิตชนะเลิศการประกวดโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์    

อธิการบดี มมส ร่วมแสดงความยินดีกับนิสิตชนะเลิศการประกวดโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market-R2M) ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 เวลา 16.50 น. ณ ห้องประชุม 6 ชั้น 4 อาคารบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์อนิรุทธิ์ ผงคลี อ.ดร.กัญญาณัฐ รัตนประภาธรรม คณะการบัญชีและการจัดการ และบุคลากร ศูนย์ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม (UIC) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำนิสิต ที่ชนะเลิศการประกวดโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market-R2M) ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้ารายงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต ผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รำไพ เกณฑ์สาคู รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร

สืบเนื่องจากการที่ศูนย์ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market-R2M) ระดับจังหวัด โดยมีการ Boot camp ครั้งที่ 1 และ 2 ไปแล้วในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องประชุมชั้น 1 ศูนย์นวัตกรรมไหม และระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ณ พิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามลำดับ

โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market-R2M) ระดับภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือดังกล่าว เป็นโครงการเพื่อการประกวดแนวคิดและแผนความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจจากผลงานวิจัยที่มีอยู่แต่ละสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัยให้สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้นักวิจัย ผู้คิดค้นนวัตกรรมและนิสิต/นักศึกษาได้ร่วมทดสอบถึงความเป็นไปได้ที่จะนำผลงานวิจัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการจัดตั้งธุรกิจใหม่แก่นิสิต/นักศึกษาอีกด้วย ศูนย์ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ในนามที่ดำเนินโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ ร่วมกันระหว่าง 4 สถาบันเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 3) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ 4) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งแต่ละสถาบันข้างต้นได้ดำเนินการจัดโครงการดังกล่าวเพื่อคัดเลือกตัวแทนนิสิต/นักศึกษาของตนสถาบันละ 5 ทีม ซึ่งรวมเป็น 20 ทีม ในการแข่งขันระดับภูมิภาค

ซึ่งในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ส่งตัวแทนนิสิตเข้าร่วมจำนวน 5 ทีม จำนวน 15 คน และอาจารย์พี่เลี้ยงอีกจำนวน 5 ท่าน ประกอบด้วย

  1. ทีม Marigold กับผลงานวิจัยชาดอกไม้กินได้ที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งเป็นผลงานการวิจัย อาจารย์ ดร.นเรศ มีโส ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ Mari+ ประกอบด้วยสมาชิก ดังนี้
  1) นายอมฤต สมพงษ์ คณะการบัญชีและการจัดการ
  2) นายขจรวุฒิ อาษาสิงห์ คณะการบัญชีและการจัดการ
  3) นางสาวมุกดา เกิดมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และอาจารย์พี่เลี้ยงประจำทีม ได้แก่ ผศ.มลิจันทร์ ทองคำ คณะการบัญชีและการจัดการ

  2. ทีม Freshy กับผลงานวิจัยผลิตภัณฑ์สบู่จากเมล็ดมะม่วงต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยของ ผศ.ดร.รักฤดี สารธิมา ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ Diora ประกอบด้วยสมาชิก ดังนี้
  1) นายเมตต์ รฤกชาติ คณะการบัญชีและการจัดการ
  2) นายศรัล สุรเสน คณะการบัญชีและการจัดการ
  3) นางสาวพรนภา วิภายา คณะวิทยาศาสตร์ และอาจารย์พี่เลี้ยงประจำทีม ได้แก่ อาจารย์อภิชัย มหธรรม คณะการบัญชีและการจัดการ

  3. ทีม SELENE' กับผลงานวิจัยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซีลีเนียมสูง ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยของ ผศ.ดร.ปิยะเนตร จันทร์ถิระติกุล ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ Selenium Fiber Fit ประกอบด้วยสมาชิก ดังนี้  
  1) นางสาวปิ่นแก้ว กรมแสง คณะการบัญชีและการจัดการ
  2) นางสาวพรพิมล กรมแสง คณะการบัญชีและการจัดการ
  3) นางสาวศรัญญา มณีทอง คณะวิทยาศาสตร์ และอาจารย์พี่เลี้ยงประจำทีม ได้แก่ อาจารย์ ดร.จุลสุชดา ศิริสม คณะการบัญชีและการจัดการ

  4. ทีม Grower Sweet กับงานวิจัยผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากมูลไส้เดือน ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยของ ผศ.ดร.สุนันทา เลาวัณย์ศิริ ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ O-Life ประกอบด้วยสมาชิก ดังนี้ 
  1) นางสาวพรพิไล เลิศวุฒิชัยกุล คณะการบัญชีและการจัดการ
  2) นางสาววิภาวดี เขตผดุง คณะวิทยาการสารสนเทศ
  3) นายเดชา ศรีวลมย์ คณะเทคโนโลยี และอาจารย์พี่เลี้ยงประจำทีม ได้แก่ อาจารย์ ดร.อนิรุทธิ์ ผงคลี คณะการบัญชีและการจัดการ

  5. ทีม ดีเด่น กับผลงานวิจัยผลิตภัณฑ์ไหมขัดฟันจากเส้นใยธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยของ อาจารย์ศิริลักษณ์ วงศ์เกษม ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ D-Dent ประกอบด้วยสมาชิก ดังนี้ 
  1) นางสาวนันทิพร พงศ์ศิริยะกุล คณะการบัญชีและการจัดการ
  2) นางสาวสัตยา ขันสุธรรม คณะการบัญชีและการจัดการ
  3) นายธนพล วงศ์นารี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และอาจารย์พี่เลี้ยงประจำทีม ได้แก่ อาจารย์ณัฐ ธารเจริญ คณะการบัญชีและการจัดการ

โดยการแข่งขันโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market-R2M) ระดับภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน และวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา ณ ห้องศรีจันทร์ 2 ชั้น 4 โรงแรมเจริญธานี ปริ๊นเซส จ. ขอนแก่น และศูนย์ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำคณะนิสิตจำนวน 15 คน จาก 5 ทีมข้างต้นที่ผ่านการประกวดและคัดเลือกเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยมหาสารคามจากโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market-R2M) ระดับจังหวัด เข้าร่วมการแข่งขันประกวดแผนความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ ภายใต้โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market-R2M) ระดับภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับสำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้เกียรติในการกล่าวเปิดงาน และมีผลการแข่งขัน ดังนี้ 

  - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Grower Sweet กับผลงานผลิตภัณฑ์ O-Life จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัล 30,000 บาท
  - รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ทีม MK Go Go กับผลงานผลิตภัณฑ์ครีมนวดสลายเซลลูไลท์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัล 20,000 บาท
  - รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง ได้แก่ ทีม PWS UBU + กับผลงานผลิตภัณฑ์เครื่องรีไซเคิลทินเนอร์ จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัล 10,000 บาท
  - รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม Paradies กับผลงานผลิตภัณฑ์โคเนื้อพันธุ์โคราชวากิว จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท
  - รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม ดอกไม้ กับผลงานผลิตภัณฑ์ Geopolymer จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท

โดยทั้ง 5 ทีม จะได้เป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันประกวดความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจโครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ (Research to Market-R2M) ในระดับประเทศ ประจำปี 2556 ที่จะจัดขึ้นในระหว่างที่ 16-18 มกราคม พ.ศ. 2557 ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ต่อไป 

วันที่ประกาศข่าว : 03 ธ.ค. 2013  ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม(UIC)

รูปภาพประกอบข่าว
 
 
 
กองประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 หมายเลขโทรศัพท์ 043-719800