กลับหน้าหลัก  ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  พระธาตุนาดูนทองคำ  นักวิจัยดีเด่น  บุคลากร  ศิษย์เก่า  นักเรียน/นิสิต  ผู้มีอุปการะคุณ  ผลงานโดดเด่น   ค้นหา 
 
  ชื่อผลงาน/ทุน :
        ผลงานวิจัยเรื่อง รถตัดอ้อยแบบเดินตาม (สิทธิบัตร) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
  ประเภท :
         ผลงานโดดเด่น
  ตำแหน่ง :
        อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนศาสตร์ คณะเทคโนโลยี
  หน่วยงาน :
        เทคโนโลยี
 
(- กลุ่มบุคลากร -)
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อ - นามสกุล อาจารย์ทนงศักดิ์ มูลตรี
คณะ/หน่วยงาน/แหล่งทุน เทคโนโลยี
ภาควิชา เทคโนโลยีการอาหารและโภชนศาสตร์
สาขาวิชา เทคโนโลยีการอาหารและโภชนศาสตร์
รายละเอียดข่าว (1403)

หัวข้อข่าว : ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ที่ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551    

   ผลงานวิจัย  สิ่งประดิษฐ์ที่ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551

   อาจารย์ทนงศักดิ์  มูลตรี  อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารและโภชนศาสตร์  คณะเทคโนโลยี

   ผลงานเรื่อง  รถตัดอ้อยแบบเดินตาม  (สิทธิบัตร)

   ผลงานวิจัยโดยสรุป

   การพัฒนารถตัดอ้อยแบบรถไถนาเดินตามต้นแบบที่ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม   ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงอุปกรณ์  เพื่อใช้กับสภาพพื้นที่ของประเทศได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รถตัดอ้อยแบบรถไถนาเดินตามเป็นการพัฒนาได้ประยุกต์จากรถไถเดินตามซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีใช้กันอยู่ทั่วไป  มีขนาดเล็กเหมาะกับสภาพพื้นที่  ระบบส่วนใหญ่จะเป็นระบบไฮดรอลิกส์เข้ามาช่วย  เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง  ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยได้อีกมาก

   รถตัดอ้อยแบบรถไถนาเดินตามจึงได้พัฒนาขึ้นมาโดยประยุกต์ใช้กับรถไถเดินตามซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีใช้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งมีขนาดเล็กเหมาะกับสภาพพื้นที่  โดยใช้ระบบไฮดรอลิกส์ เข้ามาช่วย เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความสะดวกรวดเร็วมีประสิทธิภาพมากขึ้น  การตัดลำต้นของอ้อยใช้มอเตอร์ไฮดรอลิกส์เป็นตัวต้นกำลังขับใบมีด ปรับระดับใบมีดตามสภาพความสูงต่ำของลำต้นอ้อยโดยรักษาระดับความสูงของตออ้อยประมาณ 2-5 เซนติเมตร  ตามความต้องการของการตัดอ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อย  อีกทั้งยังสามารถปรับระดับการเอียงของใบมีดตัดลำต้นอ้อยได้เพื่อกำหนดทิศทางการล้มของต้นอ้อยที่ตัด  ใบมีดที่ใช้ตัดลำต้นอ้อยและยอดอ้อยคือใบเลื่อยวงเดือนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง   600   มิลลิเมตร  60  ฟัน  สามารถตัดอ้อยได้เรียบไม่เกิดปัญหาเมื่อกระทบกับดินแข็งหรือหิน  รถตัดอ้อยแบบรถไถนาเดินตามมีความสามารถในการตัดอ้อยได้โดยเฉลี่ยเท่ากับ  0.39  ไร่ต่อชั่วโมง  ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยเท่ากับ  0.88  ลิตรต่อชั่วโมง ที่ทำการตัดอ้อย  ความเร็วของการเคลื่อนที่ของรถตัดอ้อยแบบ
รถไถนาเดินตาม 2.43 กิโลเมตรต่อชั่วโมง   ซึ่งเป็นความเร็วที่เหมาะสมกับความเร็วของการตัดอ้อย

   ประโยชน์ของงานวิจัย

   1. เก็บเกี่ยวอ้อยได้วันละ 3- 5 ไร่/วัน
   2. ประหยัดค่าจ้างตัดอ้อยได้วันละ 2,000 บาท/ไร่
   3. ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้
   4. ลดการนำเข้าของเครื่องจักรกลจากต่างประเทศ (มูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรกลการเกษตร ปี 2547 5,914,447,904.00 บาทต่อปี) ที่มา: กรมศุลกากร
   5. การเพิ่มมูลค่าทางทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อก่อให้เกิดการพาณิชย์ คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์และสิทธิบัตรการออกแบบ


วันที่ประกาศข่าว : 04 ส.ค. 2010  ที่มา : คณะเทคโนโลยี

รูปภาพประกอบข่าว
- - - ไม่มีภาพประกอบ - - -
 
 
 
กองประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 หมายเลขโทรศัพท์ 043-719800