กลับหน้าหลัก  ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  พระธาตุนาดูนทองคำ  นักวิจัยดีเด่น  บุคลากร  ศิษย์เก่า  นักเรียน/นิสิต  ผู้มีอุปการะคุณ  ผลงานโดดเด่น   ค้นหา 
 
  ชื่อผลงาน/ทุน :
        ผู้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยดีเด่น กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖
  ประเภท :
         นักวิจัยดีเด่น
  ตำแหน่ง :
        อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
 
(- กลุ่มบุคลากร -)
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อ - นามสกุล อาจารย์ ดร.จตุรงค์ สมอาจ
รายละเอียดข่าว (11066)

หัวข้อข่าว : ผู้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยดีเด่น กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖    

ผู้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยดีเด่น กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖

     อาจารย์ ดร.จตุรงค์ สมอาจ สำเร็จการศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์พัฒนาเพื่อการจัดการทรัพยากร (เกียรตินิยมอันดับ ๒) จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ สำเร็จการศึกษา M.Sc. Remote Sensing and Geographic Information Systems Asian Institute of Technology (AIT) และปี พ.ศ. ๒๕๖๖ สำเร็จการศึกษา Dr. nat. techn. Remote SensingUniversity of Natural Resources and Life Sciences, Vienna (BOKU) ประเทศ Austria ปัจจุบันเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Peer reviewer) ทั้งในประเทศและต่างประเทศในฐาน (Scopus, ISI Web of Science) และวารสารวิทยาศาสตร์เกษตร นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาร่วมนักศึกษาปริญญาเอก คณะการจัดการสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หัวหน้าโครงการวิจัยทั้งภายในและภายนอกมากกว่า ๑๐ โครงการวิจัย และดำรงตำแหน่งอาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
     อาจารย์ ดร.จตุรงค์ สมอาจ มีความรอบรู้ด้านภูมิศาสตร์การเกษตร การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเพื่อจัดการการเกษตรการประมวลผลภาพถ่ายจากดาวเทียมและภาพถ่ายรายละเอียดสูง แบบจำลองการติดตามการเจริญเติบโตพืชพรรณ และการทำนายผลผลิตทางการเกษตร และการวิเคราะห์สถิติเชิงพื้นที่ อาจารย์ ดร.จตุรงค์ สมอาจ ได้รับทุนวิจัยและมีผลงานด้านวิจัยที่โดดเด่นจำนวนมาก เช่น เรื่องรูปแบบการกระจายตัวประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่องการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกพืชทางการเกษตรและสิ่งปกคลุมดินจาก พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๖๑ ในลุ่มน้ำชี ประเทศไทยด้วยข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Landa หลายช่วงเวลา เรื่องการตรวจวัดพื้นที่ภัยแล้งจากปี ๒๕๔๔ - ๒๕๖๕ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทยด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม MODIS NDVI เชิงอนุกรมเวลา และวิธีการ Savitzky-Golay เรื่องการทำแผนที่พลวัตพื้นที่เพาะปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย ด้วยอนุกรมเวลาจากข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมหลายเครื่องตรวจวัด เป็นต้น ในส่วนของบทความวิจัยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิิชาการระดัับนานาชาติอย่างมากมาย ในส่วนของบทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติ เช่น “ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวกับการใช้ที่ดินด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียมหลายช่วงเวลาอำเภอเมืองอุดรธานี, “แบบรูปการเปลี่ยนแปลงและการคาดการณ์ผลผลิตอ้อยด้วยข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat และอากาศยานไร้คนขับ”, “การตรวจวัดพื้นที่ฟื้นฟูไฟป่าเขตอนุรักษ์ด้วยข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม LANDSAT หลายช่วงเวลา” รวมทั้งได้รับรางวัลต่างๆ ได้แก่ ประกาศเกียรติคุณ ผู้ที่มีผลงานตีพิมพ์สะสมรวมสูงสุดในฐานข้อมูล SCOPUS จำนวน H-index ระดับ คณะ/หน่วยงาน และประกาศเกียรติคุณ ผู้ที่มีผลงานตีพิมพ์รวมสูงสุดในฐานข้อมูล SCOPUS ระดับ คณะ/ หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
     ด้วยความรู้ ความเชี่ยวชาญ บทบาทด้านวิชาการและผลงานวิจัยอันเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติดังกล่าว มหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงมอบรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยดีเด่น กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อเป็นเกียรติแก่ตนเองและมหาวิทยาลัยสืบไป


วันที่ประกาศข่าว : 20 ก.พ. 2024  ที่มา :

รูปภาพประกอบข่าว
 
 
 
กองประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 หมายเลขโทรศัพท์ 043-719800